องค์ประกอบของเครื่องจักร |
โครงเครื่อง (Main Frame) มีลักษณะเป็นโครงสร้างแบบรางทรงกระบอกและภายในเป็นพื้นที่ว่างสำหรับติดตั้งสกรูลำเลียงตลอดความยาวของเครื่อง โครงของเครื่องสามารถแบ่งการทำงานได้เป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนดักขยะ (Screen Zone) และส่วนลำเลียงขยะ (Conveying Zone) โดยปกติโครงเครื่องทำจากสแตนเลสแบบ SUS304 |
ส่วนดักขยะ (Screen Zone) เป็นส่วนสำคัญในการดักขยะ โดยส่วนประกอบนี้จะมีลักษณะเป็นตะแกรงวางเอียงลงขวางลำน้ำในราง มีสกรูวางรองอยู่เพื่อดึงขยะที่ติดอยู่หน้าตะแกรงขึ้นไปยังส่วนลำเลียง (Conveying Zone) ส่วนดักขยะนี้จะเป็นส่วนที่กำหนดขนาดการดักขยะ ขนาดการดักขยะจะกำหนดจากขนาดช่องเปิดของขอตัก (Opening) อยู่ระหว่าง 3 มม. ถึง 6 มม. หรือตามแต่ข้อกำหนดของผู้ผลิต โดยปกติตะแกรงส่วนดักขยะทำจากสแตนเลสแบบ SUS304 และสกรูที่ใช้สำหรับดึงขยะขึ้นมีขนาดตั้งแต่ 200 มม. ไปจนถึงประมาณ 750 มม. ขึ้นอยู่กับขนาดการดักขยะและทำจากเหล็กแบบ SS400 |
ส่วนลำเลียงขยะ (Conveying Zone) ส่วนนี้จะลำเลียงขยะหรือของแข็งที่ดักขึ้นมาได้จากส่วนดักขยะ ไปยังถังขยะหรือระบบลำเลียงอื่นๆต่อไป ด้านบนของส่วนลำเลียงนี้จะมีตะแกรงแบบละเอียดเพื่อระบายน้ำที่ปนมากับขยะให้ออกไปส่วนหนึ่งก่อนจะถูกส่งไปยังช่องทิ้งขยะ (Discharge Chute) โดยปกติส่วนรางของลำเลียงนี้ทำจากสแตนเลสแบบ SUS304 และสกรูที่ใช้สำหรับลำเลียงจะมีขนาดเท่ากับหรือเล็กกว่าขนาดสกรูของส่วนดักขยะ ขึ้นอยู่กับขนาดการดักขยะและทำจากเหล็กแบบ SS400 |
ช่องทิ้งขยะ (Discharge Chute) ช่องทิ้งขยะจะเป็นส่วนประกอบที่ต่อเนื่องมาจากส่วนลำเลียง โดยช่องทิ้งขยะจะถูกออกแบบให้มีขนาดเท่ากันกับขนาดของรางลำเลียงและติดตั้งอยู่ทางด้านบน ช่องทิ้งขยะนี้มักทำมาจากสแตนเลสแบบ SUS304 |
ชุดขับ (Drive Unit) ชุดขับจะติดตั้งอยู่ด้านบนของเครื่อง สำหรับเป็นต้นกำลังในการขับสายพานตักขยะ ชุดขับเป็นแบบหมุนคงที่ (Fix Speed) รอบการหมุนของชุดขับควรเลือกไว้ที่ประมาณ 5-14 รอบต่อนาที ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องจักรและเป็นแบบหน้าจานสวมติดกับเพลาสกรู (Flange Mount and Hollow Shaft Type) โดยทั่วไปขนาดกำลังไฟฟ้าที่ใช้สำหรับชุดขับจะเป็นแบบ 380 V / 50 Hz / 3 ph และมีกำลังขับเริ่มต้นที่ 0.55 kW สำหรับเครื่องจักรหน้ากว้าง 300 มม. ที่บ่อน้ำลึกไม่เกิน 3 ม.หรือใกล้เคียง และกำลังที่ต้องการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามขนาดของเครื่องหรือตามคำแนะนำของผู้ผลิต |
ตู้ควบคุมเครื่องจักร (Control Panel) จะกล่าวถึงการควบคุมโดยทั่วไป การควบคุมเครื่องจักรสามารถทำได้ 2 แบบ ได้แก่ แบบแมนนวล (Manual) และแบบอัตโนมัติ โดยแบบ Manual ผู้ใช้งานสามารถเปิดปิดเครื่องได้ตามที่ต้องการ ส่วนแบบอัตโนมัติสามารถเลือกใช้ได้อีก 2 แบบ ได้แก่ แบบอัตโนมัติโดยการตั้งเวลาเปิด-ปิด (Timer) เครื่องจักรจะเปิด-ปิดเครื่องตามที่ผู้ใช้งานตั้งเวลาไว้ และแบบเปิด-ปิดโดยใช้อุปกรณ์ตรวจจับความแตกต่างของระดับน้ำ (Pressure Differential Switch) กล่าวคือถ้าด้านหน้ามีขยะติดมาก ระดับน้ำจะสูงกว่าด้านหลังเครื่องจนถึงระดับค่าแตกต่างที่ตั้งไว้ อุปกรณ์จะส่งสัญญาณให้เดินเครื่องเป็นระยะเวลาหนึ่งและจะหยุดเดินเครื่องเอง ค่าความแตกต่างที่มักจะเลือกใช้อยู่ที่ 0.10 ถึง 0.15 เมตรน้ำหรือใกล้เคียง |