องค์ประกอบของเครื่องจักร |
โครงเครื่อง (Main Frame or Inlet Housing) มีลักษณะเป็นถังแบบทรงสามเหลี่ยมคว่ำ โดยมีหน้าจานรับน้ำผสมตะกอนเข้า (Inlet Flange) ติดตั้งอยู่ทางด้านบน และมีท่อระบายน้ำ (Drainage Pipe) ที่ดักแยกแล้วอยู่ทางด้านข้างหรือด้านหน้าของโครง โครงเครื่องนี้ทำมาจากเหล็กแบบ SS400 หรือ สแตนเลสแบบ SUS304 |
โครงรองรับเครื่อง (Support Frame) มีลักษณะเป็นโครงพร้อมขาตั้ง แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกจะติดตั้งทางด้านหน้า (Front Support or Lower Support) เชื่อมติดอย่างแข็งแรงกับโครงเครื่อง และส่วนที่สองจะติดตั้งทางด้านหลัง (Back Support or Upper Support) เชื่อมติดอย่างแข็งแรงบนรางลำเลียง |
ส่วนลำเลียงกรวดทราย (Conveying Zone) ส่วนนี้มีลักษณะเป็นลำรางเอียงรับทางด้านหลังของโครงเครื่อง และมีสกรูลำเลียงติดตั้งอยู่ภายในรางตลอดความยาว ซึ่งกรวดทรายจะถูกลำเลียงจากด้านหน้าเอียงขึ้นไปทางด้านหลังเครื่องและถูกส่งออกมาทางช่องทิ้งกรวดทราย (Discharge Chute) โดยปกติส่วนรางของลำเลียงนี้ทำจากเหล็กแบบ SS400 หรือสแตนเลสแบบ SUS304 ก็ได้ และสกรูที่ใช้สำหรับลำเลียงจะมีขนาดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดการดักกรวดทรายและทำจากเหล็กแบบ SS400 หรือวัสดุอื่น |
|
|
|
ช่องทิ้งกรวดทราย (Discharge Chute) ช่องทิ้งขยะจะเป็นส่วนประกอบที่ต่อเนื่องมาจากส่วนลำเลียง โดยช่องทิ้ง ขยะจะถูกออกแบบให้มีขนาดเท่ากันกับขนาดของรางลำเลียงและติดตั้งอยู่ทางด้านบน ช่องทิ้งขยะนี้มักทำมาจากเหล็กแบบ SS400 หรือ สแตนเลสแบบ SUS304 |
ชุดขับ (Drive Unit) ชุดขับจะติดตั้งอยู่ด้านบนของเครื่อง สำหรับเป็นต้นกำลังในการขับสายพานตักขยะ ชุดขับเป็นแบบหมุนคงที่ (Fix Speed) รอบการหมุนของชุดขับควรเลือกไว้ที่ประมาณ 5-14 รอบต่อนาที ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องจักรและเป็นแบบหน้าจานสวมติดกับเพลาสกรู (Flange Mount and Hollow Shaft Type) โดยทั่วไปขนาดกำลังไฟฟ้าที่ใช้สำหรับชุดขับจะเป็นแบบ 380 V / 50 Hz / 3 ph และมีกำลังขับเริ่มต้นที่ 0.25 kW สำหรับเครื่องจักรที่ใช้สกรูขนาด 200 มม. สำหรับดักแยกกรวดทรายได้ประมาณ 1.5 ลบ.ม. และกำลังที่ต้องการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามขนาดของเครื่องตามคำแนะนำของผู้ผลิต |